วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยี

       กระบวนการทางเทคโนโลยี เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา โดยการคิดริเริ่มสร้างสรรค์

เพื่อนำไปสู่การประดิษฐ์และปฎิบัติ ก่อใก้เกิดประโยชน์ใช้สอย ตามที่มนุษย์ต้องการและเปลี่ยนแปลง
        การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ เพราะมนุษย์มีความต้องการในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในการดำรงชีวิต ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาที่อาจเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น และบางครั้งปัญหาอาจเกิดการผลิตสิ่งของต่างๆไม่ตรงตามความต้องการไม่ได้คุณภาพจึงต้องมีการออกแบบ เพื่อจะนำมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว
   กระบวนการเทคโนโลยี มีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้นตอน ได้แก่

1.กำหนดปัญหาหรือความต้องการ
   เมื่อมนุษย์เกิดปัญหาหรือความต้องการ ขั้นแรกคือการทำความเข้าใจ ปัญหานั้นๆ อย่างละเอียดหรือกำหนดขอบเขต การแก้ปัญหา ระบุความต้องการให้ชัดเจนว่าต้องการอะไร  โดยเขียนเป็นข้อความสั้นๆให้ได้ใจความชัดเจน
 2. รวบรวมข้อมูบเพื่อแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ เมื่อกำหนดปัญหาหรือความต้องการแล้ว
    ขั้นตอนต่อไปนี้คือ เก็บรวบรวมข้อมูลและความรู้ทุกด้านที่เกี่ยวข้องก้บปัญหาหรือความต้องการพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมสำหรับแก้ปัญหา หรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ ทำได้หลายวิธี เช่น
  รวบรวมข้อมูลจากหนังสือ วารสารต่างๆ

- สำรวจตัวอย่างในท้องตลาด

- สัมภาษณ์พูดคุยกับคนอื่นๆ

- ระดมสมองคิดหาวิธีการ

- สืบค้นจากอินเทอร์เนต และจากแผ่นซีดีเสริมความรู้ ฯลฯ

ข้อมูลเหล่านนี้จะนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการในหลายแบบขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญซึ่งจะเป็นช่องทางที่สามารถใส่เนื้อหา ที่เราต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้ และถือว่าเป็นช่องทางของการบูรณาการได้ดีที่สุด
   3. เลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ
   ในขั้นนี้เป็นการตัดสินใจเลือกแนวคิดที่ดีที่สุดสำหรับแก้ปัญหา โดยนำข้อมูลและความรู้ที่รวบรวมได้มาประกอบกัน จนได้ข้อสรุปว่าจะเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือวิธีการสนองความ ต้องการเป็นแบบใด โดยวิธีการที่เลือกอาจยึดแนวที่ว่า เมื่อเลือกแล้วจะทำให้สิ่งนั้นดีขึ้น สะดวกสบายหรือรวดเร็วชึ้น ประหยัดขึ้น รวมที้งวิธีการเหล่านี้จะต้องสอดคล้องกับทรัพยาการที่มีอยู่
  4. ออกแบบและปฎิบัติการ
   ขั้นตอนนี้ต้องการให้นักเรียนรู้จักคิดออกแบบซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของเครื่องใช้เสมอไป อาจเป็นวิธีการก็ได้และการออกแบบไม่จำเป็นต้องเขียนแบบเสมอไปอาจเป็นแค่ลำดับความคิดหรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอนซึ่งรวมปฎิบัติการลงไปด้วย นั่นคือ เมื่อออกแบบแล้วต้องลงมือทำ และลงมือปฎิบัติในสิ่งที่ออกแบบไว้
 5. ทดสอบ
  เป็นการนำสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการนั้นทดลองเพื่อใช้ทดสอบว่าใช้งานหรือทำงานได้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร ถ้ายังไม่ได้ก็ไปสู่ขั้นตอนต่อไป คือ ปรับปรุง แก้ไข
6.การปรับปรุงแก้ไข
  หลังจากการทดสอบผลแล้วพบว่าสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นกรือวิธีการที่คิดขึ้นไม่ทำงานมีข้อบกพร่อง ก็ทำการปรับปรุงแก้ไข โดยอาจเลือกวิธีการใหม่ก็ได้คืนย้อนไปขั้นตอนที่ 3
 7.ประเมินผล
   หลังจากการปรับปรุงจนใช้งานได้ดีตามวิธีการที่ออกแบบแล้วก็นำมาประเมินผลโดยรวมโดยพิจารณาดังนี้ -สิ่งประดิษฐ์สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่ระบุไว้ได้หรือไม่
  -สวยงามดึงดูดใจผู้ใช้หรือไม่
  -แข็งแรงทนทานต่อการใช้งานหรือไม่
  -ต้นทุนสูงเกินไปหรือไม่
บางกิจกรรมอาจไม่ครบทั้ง 7 ขั้นตอนก็ได้ บางกิจกรรมบางขั้นตอนอาจสลับกันไปบ้างก็ได้ แต่เมื่อนำไปใช้แล้ว สามารถที่จะทำงานเป็นขั้นตอนเป็นระบบสามารถย้อนกลับมาดูหรือแก้ไขได้ตามขั้นตอนที่ทำไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น