วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

การพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์

โครงงานคอมพิวเตอร์ เป็นกิจกรรมอิสระที่ผู้เรียนสามารถเลือกศึกษาตามความสนใจ โดใช้ทักษะ ตลอดจนประสบการ์ของผู้เรียนด้านคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในการแกปัญหาต่างๆ ผู้เรียนจะต้องวางแผนดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรม หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
กิจกรรมที่จัดว่าเป็นโครงงานควรมีองค์ประกอบหลัก ดังนี้

- เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องซอฟต์แวร์และเครื่องคอมพิวเตอร์
- ผู้เรียนเป็นริเริ่มและเลือกเรื่องที่จะศึกษา ค้นคว้า พัฒนา
- เก็บรวบรวมหรือประดิษฐ์คิดค้นด้วยตนเองตามความสนใจและระดับความรู้ความสามารถ
- ผู้เรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา สรุป และเสนอผลการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีผู้สนอเป็นที่ปรึกษา
ความหมายและคุณค่าของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
              เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีผลกระทบต่อความเจริญก้าวหน้าของทุก ๆ สังคมในโลกปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีด้านนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็นเรื่องยากที่ประชาชนจะคอยติดตามความก้าวหน้าอยู่ตลอดเวลาและเป็นสิ่งที่ไม่เกิดประโยชน์คุ้มค่าอีกด้วย ดังนั้นการศึกษาเทคโนโลีของคอมพิวเตอร์จึงต้องศึกษาหลักการและเนื้อหาพื้นฐานเป็นสำคัญ
การศึกษาด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เป็นสิ่งจำเป็นเสมือนกับการศึกษาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ คอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนแปลงโลกของเราในด้านต่าง ๆ มากมายได้แก่

- สังคมโดยส่วนใหญ่เปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมเป็นสังคมสารสนเทศ
- การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ มักขึ้นอยู่กับข้อมูลซึ่งได้จากระบบคอมพิวเตอร์
- คอมพิวเตอร์กลายเป็นเครื่องมือที่สำคัญแทนเครื่องมืออื่น ๆ ในอดีต เช่น เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องคิดเลขเป็นต้น
- คอมพิวเตอร์ถูกใช้ในการออกแบบสถานการณ์หรือปัญหาที่ซับซ้อนต่าง ๆ
- คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารของโลกปัจจุบัน
            นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาเรียนวิทยาศาสตร์ธรรมชาติเพื่อความเข้าใจความเป็นไปของธรรมชาติในโลก ในทำนองเดียวกันนักเรียนต้องเรียนวิชาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์เพื่อความเข้าใจในสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของสังคมต่าง ๆ ในยุคสารสนเทศ เนื้อหาวิชาทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษามีเป้าหมายที่จะพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจในวิทยาการของคอมพิวเตอร์และมีความสามารถในการพัฒนาโปรแกรมได้ ดังนั้นการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์จะเป็นสิ่งที่ทำให้นักเรียนสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างสมบูรณ์

             จุดมุ่งหมายที่สำคัญประการหนึ่งของการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ในโรงเรียน คือการที่นักเรียนได้มีโอกาสฝึกความสามารถในการนำความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากวิธีหนึ่งคือการที่นักเรียนได้มีโอกาสทำโครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์เป็นงานวิจัยในระดับนักเรียน เป็นการใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีอยู่ในการศึกษา ทดลอง แก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อนำผลที่ได้มาประยุกต์ใช้งานจริง หรือใช้เพื่อช่วยสร้างสื่อเพื่อเสริมการเรียนให้ได้ดีมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โครงงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกฝนการใช้ทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ พร้อมทั้งเครื่องมือต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา รวมทั้งการพัฒนาการสร้างผลงานจริงอีกด้วย
          โครงงานคอมพิวเตอร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาเป็นกิจกรรมการเรียนที่นักเรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนสนใจ ซึ่งอาจเป็นปัญหาที่ต้องใช้ความรู้ กระบวนการทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์ เครื่องคอมพิวเตอร์และวัสดุอุปกรณ์ตลอดจนทักษะพื้นฐานในการพัฒนาโครงงาน โครงงานบางเรื่องอาจต้องการวัสดุอุปกรณ์นอกเหนือจากที่มีอยู่ ซึ่งนักเรียนจะต้องคิดออกแบบสร้างขึ้น หรือดัดแปลงเพื่อใช้งานได้ตรงกับความต้องการ โดยในการพัฒนาโครงงานคอมพิวเตอร์จะอยู่ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาของครูในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์หรือต่างสาาวิชารวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ ด้วย
          โครงงานคอมพิวเตอร์ที่จะทำในระดับมัธยมศึกษาควรเป็นประเด็นหรือปัญหาที่นักเรียนสนใจใคร่รู้ และสามารถใช้ความรู้ ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์ในระดับของนักเรียน เพื่อคิดแนวทางในการแก้ปัญหาและการพัฒนาโปรแกรม เพื่อให้โครงงานคอมพิวเตอร์นั้นมีคุณค่ายิ่ง อย่างไรก็ตาม เรื่องที่นักเรียนสนใจและคิดที่จะทำโครงงานอาจมีผู้สนใจทำมาก่อน หรือเป็นเรื่องที่นักพัฒนาโปรแกรมได้เคยค้นคว้าและพัฒนามาแล้ว แต่นักเรียนก็ยังสามารถทำโครงงานดังกล่าวได้ เพียงแต่คิดดัดแปลงแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้

กิจกรรมที่จัดว่าเป็นโครงานคอมพิวเตอร์ควรมีองค์ประกอบหลักดังต่อไปนี้
      - เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับซอต์ฟแวร์และเครื่องคอมพิวเตอร์
      - นักเรียนเป็นผู้ริเริ่มและเลือกเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้า พัฒนาด้วยตนเองตามความสนใจและระดับความรู้ความสามารถ
      - นักเรียนเป็นผู้วางแผนในการศึกษา ค้นคว้า ตลอดจนการพัฒนาเก็บรวบรวมข้อมูลหรือประดิษฐ์คิดค้น รวมทั้งการสรุปผล และการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยมีครูอาจารย์หรือผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ให้คำปรึกษา

            การทำโครงงานคอมพิวเตอร์มีของเขตกว้างขวางมาก ตั้งแต่เรื่องที่ง่าย ๆ ไปจนถึงเรื่องที่ยุ่งยากซับซ้อน โครงงานคอมพิวเตอร์บางเรื่องอาจใช้เวลาสั้นในการพัฒนา จนถึงเรื่องที่ใช้เวลาเป็นภาคเรียนหรือปีการศึกษา โครงงานคอมพิวเตอร์บางเรื่องเสียค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยจนถึงนับพันบาท นักเรียนจึงควรศึกษารายละเอียดและงบประมาณต่างๆ ของโครงงานก่อน จึงค่อยเลือกทำโครงงานที่เหมาะสมกับระดับความรู้ ความสามารถ และความสนใจของนักเรียน โดยทั่ว ๆ ไป การทำโครงงานคอมพิวเตอร์จัดเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนรายวิชาคอมพิวเตอร์ทุกระดับการศึกษา โดยอาจจะทำเป็นกลุ่มหรอทำเป็นรายบุคคล ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจของนักเรียนแต่ละคนแต่ละกลุ่มเป็นสำคัญ

            จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ไม่ได้อยู่ที่การส่งเข้าประกวดเพื่อรับรางวัล แต่เป็นโอกาสที่นักเรียนจะได้ประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ตลอดจนการแสดงผลงานของตนเองเพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครองและผู้ที่สนใจในชุมชนเมื่อมีการจัดกิจกรรมของโรงเรียนหรืองานอื่น ๆ
            การทำโครงงานคอมพิวเตอร์และการจัดงานแสดงโครงงานจะมีคุณค่าต่อการฝึกฝนให้นักเรียนมีความรู้ ความชำนาญ และมีความมั่นใจในการนำระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้ในการแก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้นหรือค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเองและยังมีคุณค่าอื่น ๆ อีกดังต่อไปนี้

      1. สร้างความสำนึกและความรับผิดชอบในการศึกษาและพัฒนาระบบด้วยตนเอง
      2. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาและแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเอง
      3. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้ในเรื่องที่นักเรียนสนใจได้ลึกซึ้งกว่าการเรียนในห้องตามปกติ
      4. ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างกัน
      5. กระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนวิชาสาขาคอมพิวเตอร์ และมีความสนใจที่จะประกอบอาชีพทางด้านนี้
      6. ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์
      7. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนสนใจคอมพิว เตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมากขึ้น
      8. เป็นการบูรณาการเอาความรู้จากวิชาต่าง ๆ ที่ได้รับมาจัดทำผสมผสานกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นโครงงานเพื่อนำเสนอต่อชุมชน

            การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์นั้น นักเรียนควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เหตุผลที่ใช้ในการแก้ปัญหา กระบวนการแก้ปัญหา หลักการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น และการแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะเริ่มทำโครงงาน และใช้ความรู้ดังกล่าวเป็นพื้นฐานในการสร้างความรู้ใหม่ในโครงงานคอมพิวเตอร์ โดยในการทำโครงงานนักเรียนอาจจะมีโอกาสได้ทำความรู้จักกับความรู้ใหม่เพิ่มเติมอีกด้วย เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ฐานข้อมูล (Database) และการสืบค้นข้อมูล (Information Retrieval) เป็นต้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับหัวข้อที่นักเรียนเลือกทำโครงงาน
องค์ประกอบเค้าโครงของโครงงานคอมพิวเตอร์
ควรมีองค์ประกอบต่อไปนี้

1. ชื่อโครงงาน
ถ้าเป็นโครงงานเกี่ยวกับเว็บไซต์ ใช้ชื่อโครงงานว่า การพัฒนาเว็บไซต์ เรื่อง ............
ข้างต้น ได้แก่ โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา โครงงานพัฒนาเครื่องมือ โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน และโครงงานพัฒนาเกม

2. ชื่อ สกุล ผู้ทำโครงงาน

3. ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน


4. ระยะเวลาดำเนินงาน ให้ระบุเวลาเป็นจำนวนวัน เป็นต้น

5. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ อธิบายว่าเหตุใดจึงเลือกทำโครงงานนี้ โครงงานนี้มีความสำคัญอย่างไร เรื่องที่ทำเป็นเรื่องใหม่หรือมีผู้อื่นศึกษาค้นคว้ามาก่อนบ้างแล้ว ถ้ามีผู้อื่นศึกษามาก่อนแล้วผลที่ได้เป็นอย่างไร และเรื่องที่ทำนี้จะขยายเพิ่มเติม ปรับปรุงจากเรื่องที่ผู้อื่นทำไว้อย่างไร หรือเป็นการทำซ้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบ

6. วัตถุประสงค์ หลักการเขียนต้องเขียนเป็นข้อๆ และสัมพันธ์มาจากชื่อเรื่องของโครงงาน

7. หลักการและทฤษฎี อธิบายถึงหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโครงงาน เช่น โครงงานพัฒนาเว็บไซต์ ควรจะกล่าวถึงองค์ประกอบในการออกแบบเว็บไซต์และข้อพิดพลาดในการสร้างเว็บไซต์ เป็นต้น

8. วิธีดำเนินงาน

- อุปกรณ์ที่ต้องใช้ ระบุวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้มีอะไรบ้าง วัสดุอุปกรณ์เหล่านั้นอยู่ที่ใด และมีชิ้นใดบ้างที่ต้องจัดซื้อหรือหยิบยกมาจากที่ต่างๆ

- กำหนดคุณลักษณะของผลงาน และเทคนิคที่ใช้ในการพัฒนา

- แนวทางการศึกษาค้นคว้าและพัฒนา อธิบายถึงกระบวนการแก้ปัญหาที่ออกแบบไว้ และการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ การพัฒนา การทดสอบ และการนำเสนอผลงาน

- งบประมาณที่ใช้

10. แผนปฏิบัติงาน ใช้ระบุว่า มีแผนหรือขั้นตอนทำอะไรบ้าง แต่ละขั้นตอนใช้เวลากี่วัน เป็นต้น

11. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

12. เอกสารอ้างอิง

ประเภทของโครงงาน แบ่งได้เป็น 5 ประเภท
1. โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการผลิตสื่อเพื่อการศึกษา เช่น      โครงงานเกี่ยวกับการพัฒนาเว็บไซต์
2. โครงงานพัฒนาเครื่องมือ เป็นโครงงานที่สร้างเครื่องมือ ใช้สร้างงาน ส่วนใหญืจะอยู่ในรูปของซอฟต์แวร์ เช่น ซอฟต์แวร์วาดรูป
3. โครงงานประเภทการทดลองทฤษฎี เป็นโครงงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการทดลองของสาขาต่างๆ
4. โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน สร้างผลงานเพื่อประยุกต์ใช้งานในชีวิตประจำวัน
5. โครงงานพัฒนาเกม เพื่อความรู้ ความเพลิดเพลิน เช่น เกมหมารุก
 ขั้นตอนการทำโครงงานคอมพิวเตอร์
1. คัดเลือกหัวข้อโครงงานที่สนใจ

2. ศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและแหล่งข้อมูล

3. จัดทำเค้าโครงของโครงงาน เมื่อผู้เรียนได้ศึกษาเอกสารอ้างอิงต่างๆ และเลือกเรื่องที่จะทำโครงงานคอมพิวเตอร์ รวมทั้งวางแผนการทำโครงงานทุกขั้นตอน โคยปรึกษากับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว จึงเขียนเค้าโครงของโครงงานเพื่อใช้เป็นกรอบแนวคิดและแนวทาง ตลอดจนข้อตกลงต่างๆ ในการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ระหว่างผู้เรียน อาจารย์ และผู้เกี่ยวข้อง นอกจากจะต้องใช้หลักการทางวิชาการแล้ว ยังจำเป็นต้องมีข้อตกลงและเงือนไขต่างๆ ด้วย เช่น การขออนุญาตใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ การจัดหาลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ เครื่องมือและตัวแปลภาษาโปรแกรม เป็นต้น เพื่อช่วยให้การทำโครงงานดำเนินไปอย่างราบรื่น

4. การลงมือทำโครงงาน

5. การเขียนรายงาน


6. การนำเสนอและแสดงโครงงาน 

แบบฟอร์มเขียนโครงร่างโครงงาน
ชื่อโครงงาน……………………………………………………………
รายวิชา………………………………………………………
ชื่อผู้ทำโครงงาน
1…………………………………เลขที่ …………ชั้น ……………
2…………………………………เลขที่ …………ชั้น ……………
โรงเรียน.......... อำเภอ........จังหวัด.........
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา.......................
ระยะเวลาดำเนินงาน ภาคเรียนที.......ปีการศึกษา 2552
รายละเอียดเกี่ยวกับโครงงาน

1. แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
.......................................................................................................
.......................................................................................................
2. วัตถุประสงค์
.......................................................................................................
.......................................................................................................
3. หลักการและทฤษฎี
.......................................................................................................
.......................................................................................................
4. ขั้นตอนการดำเนินงาน
.......................................................................................................
.......................................................................................................
5. แผนปฏิบัติงาน
.......................................................................................................
.......................................................................................................
6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
.......................................................................................................
.......................................................................................................
7. เอกสารอ้างอิง
.......................................................................................................
.......................................................................................................

การใช้เทคโนโลยีนำเสนองาน

โปรเจคเตอร์สำหรับนำเสนองานหรือ Multimedia Projector ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันซึ่งโปรเจคเตอร์มีราคาถูกลง ขนาดเครื่องเล็กลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โปรเจคเตอร์สามารถต้อบสนองความต้องการในการฉายภาพที่มีขนาดใหญ่ไม่ว่าจะเป็นในการนำเสนองานในห้องประชุม การฉายภาพสื่อมัลติมีเดียตามงานแสดงสินค้าในห้องขนาดกลางถึงห้องขนาดใหญ่ โปรเจคเตอร์สามารถฉายภาพได้ขนาดใหญ่ซึ่งอุปกรณ์ฉายภาพชนิดอื่นเช่นจอภาพแอลซีดีไม่สามารถทำได้ โปรเจคเตอร์ยังสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกเนื่องจากตัวเครื่องมีน้ำหนักไม่มากและตัวเครื่องก็ไม่ใหญ่เทอะทะเหมือนโปรเจคเตอร์รุ่นเก่าๆ สำหรับการนำเสนองานในห้องประชุมโปรเจคเตอร์หลากหลายรุ่นมีคุณสมบัติเสริมที่ช่วยให้การนำเสนองานเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้นเช่น ความสามารถในการปรับ Page Up/Down ในโปรแกรม PowerPoint หรือใน Browser ความสามารถในการปิดเครื่องที่รวดเร็วโดยไม่ต้องรอการ Cool Down เหมือนโปรเจคเตอร์สมัยก่อน ระบบ Short Throw Lens ซึ่งช่วยให้ฉายภาพได้ขนาดใหญ่ด้วยระยะห่างจากจอภาพน้อย เทคโนโลยี Wired Network และเทคโนโลยี Wireless Network ซึ่งทำให้สามารถควบคุมโปรเจคเตอร์ได้สะดวกยิ่งขึ้น


การใช้งานโปรเจคเตอร์นอกสถานที่โปรเจคเตอร์ที่มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบาจะช่วยให้การพกพาเป็นไปอย่างสะดวกยิ่งขึ้น โปรเจคเตอร์สำหรับนำเสนองานรุ่นใหม่ๆได้มีการออกแบบมาให้มีน้ำหนักเบาและมีขนาดเล็กลงมากเช่น Portable Projector โดยโปรเจคเตอร์เหล่านี้มีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1 - 2 กิโลกรัมเท่านั้นซึ่งก็ทำให้สามารถพกพาไปใช้นอกสถานที่ได้อย่างสะดวกและโปรเจคเตอร์เหล่านี้ยังมีความสว่างและความละเอียด

ที่สามารถฉายภาพในห้องขนาดเล็กและขนาดกลางได้อย่างชัดเจน ในปัจจุบันมี Pico Projector และ Pocket Projector ซึ่งมีตัวเครื่องขนาดเล็กและมีน้ำหนักเบามากโดยมีน้ำหนักไม่ถึง 1 กิโลกรัม แต่ในการใช้งานนั้นจะเหมาะสำหรับฉายภาพโดยมีผู้ชมจำนวนไม่มากและควรใช้ในสถานที่ที่มืดหรือห้องขนาดเล็ก

ในการนำเสนองานปรกติทั่วๆไปในห้องประชุมโปรเจคเตอร์ความละเอียด SVGA (800 x 600) และความละเอียด XGA (1024 x 768) นัวว่าเป็นโปรเจคเตอร์พื้นฐานที่ใช้ในการฉายภาพ ซึ่งโปรเจคเตอร์เหล่านี้มีมากมายหลากหลายรุ่นและยี่ห้อโดยมีราคาตั้งแต่หมื่นกว่าบาทไปจนถึงหลายหมื่อบาท ในปัจจุบันความนิยนในการใช้โปรเจคเตอร์ไวด์สกรีนซึ่งมีความละเอียด WXGA (1280 x 800 พิกเซล) มีเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆซึ่งก็น่าจะเป็นผลซึ่งมาจากผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ได้มีการผลิตคอมพิวเตอร์ไวด์สกรีนออกมาจำหน่ายและ ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากนั่นเอง การที่จะฉายภาพร่วมกับคอมพิวเตอร์ที่เป็นไวด์สกรีนก็ควรจะใช้โปรเจคเตอร์ที่รองรับความละเอียดภาพ WXGA เช่นเดียวกัน ส่วนโปรเจคเตอร์ความละเอียด SXGA (1280 x 1024 พิกเซล) ก็จะให้ความละเอียดภาพสูงขึ้นและเหมาะที่จะใช้สำหรับฉายภาพที่ต้องการความละเอียดสูงเช่นภาพจากงานกราฟฟิกดีไซด์เป็นต้น

ปัจจุบันโปรเจคเตอร์ที่มีความสว่างน้อยกว่า 2000 Lumens นับวันจะมีน้อยลงทุกทีถ้าไม่นับรวมโฮมเธียเตอร์โปรเจคเตอร์ด้วย จึงอาจถือได้ว่าความสว่าง 2000 Lumens เป็นความสว่างขั้นต่ำสำหรับโปรเจคเตอร์ทั่วๆไป สำหรับห้องประชุมที่มีขนาดเล็กและขนาดกลางโปรเจคเตอร์ที่มีความสว่าง 2000 – 3000 Lumens สามารถฉายภาพได้เป็นอย่างดีในห้องทึบแสงและห้องที่มีแสงสว่าง สำหรับในห้องที่มีแสงในบางกรณีอาจต้องปรับลดแสงสว่างลงเพื่อให่ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น ส่วนห้องขนาดใหญ่ซึ่งมีผู้ชมจำนวนมากควรใช้โปรเจคเตอร์ที่มีความสว่างสูงกว่า 3000 Lumens ทั้งนี้ยิ่งได้โปรเจคเตอร์มีความสว่างยิ่งมากก็จะยิ่งดี สำหรับห้องขนาดใหญ่และภายในห้องมีแสงสว่างด้วยควรจะใช้โปรเจคเตอร์ที่มีความสว่าง 5000 Lumens ขึ้นไปเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจน

เทคโนโลยี LCD เป็นเทคโนโลยีที่ให้ภาพได้ค่อนข้างสว่างกว่าเทคโนโลยีอื่นเมื่อเปรียบเทียบกันที่ความสว่างระดับเท่าๆกันและยังเป็น เทคโนโลยีที่ให้สีสันได้สมจริงเป็นธรรมชาติ โปรเจคเตอร์ที่มีความสว่างไม่มาก (ไม่ควรจะน้อยกว่า 2000 Lumens) แต่ใช้เทคโนโลยี LCD ในการแสดงภาพก็จะสามารถให้ภาพออกมาชัดเจนได้แม้ในห้องที่มีแสงสว่าง ส่วนโปรเจคเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยี DLP ในการแสดงภาพจะให้ Contrast ของภาพได้สูงแสดงให้เห็นถึงความแตกตางของภาพได้อย่างชัดเจนถึงแม้ว่าจะสว่างไม่เท่ากับโปรเจคเตอร์ LCD ทั้ง LCD โปรเจคเตอร์และ DLP โปรเจคเตอร์สามารถฉายภาพในการนำเสนองานได้เป็นอย่างดีถึงแม้ว่าจะมีข้อแต่ต่างทางเทคโนโลยีอยู่บ้าง

ระบบรักษาความปลอดภัยของโปรเจคเตอร์จะช่วยป้องกันโปรเจคเตอร์จากการถูกขโมยหรือป้องกันการใช้งานโปรเจคเตอร์จากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาติได้ ในกรณีที่แขวนโปรเจคเตอร์ติดกับเพดานการใช้อุปกรณ์แขวนเพดานซึ่งสามารถล็อคติดกับตัวเครื่องโปรเจคเตอร์ได้ก็จะสามารถป้องกันการขโมยเครื่องโปรเจคเตอร์ได้ โปรเจคเตอร์หลายๆรุ่นมีระบบรักษาความปลอดภัยตัวเครื่องด้วยระบบ Password Protection , Panel Key Lock , Kensington Lock , Detachable Panel คุณสมบัติเหล่านี้ช่วยป้องกันโปรเจคเตอร์จากสถานะการที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นได้

เมื่อใช้งานโปรเจคเตอร์ไปจนถึงระยะเวลาหนึ่งโปรเจคเตอร์จะไม่สามารถฉายภาพได้อันเนื่องมาจากหลอดภาพหมดอายุการใช้งาน ซึ่งโปรเจคเตอร์แต่ละรุ่นอาจมีอายุการใช้งานของหลอดภาพแตกต่างกันออกไปโดยปรกติอายุการใช้งานหลอดภาพจะอยู่ที่ 2000 ชั่วโมง โปรเจคเตอร์บางรุ่นมีอายุการใช้งานหลอดภาพ 3000 ชั่วโมงหรือบางรุ่นมีอายุการใช้งานหลอดภาพมากถึง 6000 ชั่วโมง แต่ไม่ว่าจะมีอายุการใช้งานมากเท่าใดเมื่อถึงระยะเวลาใกล้หลอดภาพหมดอายุก็จำเป็นต้องเปลี่ยนหลอดภาพให้กับโปรเจคเตอร์ ค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนหลอดภาพนับเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณาเป็นอันดับต้นๆที่รองลงมาก็จะมีรีโมทคอลโทรลซึ่งก็ชำรุดหรือสูญหายได้ง่าย

โปรเจคเตอร์เป็นอุปกรณอิเล็คโทรนิคซึ่งอาจเกิดการชำรุดเสียหายได้ ในกรณีที่มีความผิดปรกติเกิดขึ้นกับโปรเจคเตอร์ๆโดยความผิดปรกตินั้นอยู่ในเงื่อนไขของการรับประกัน ทางบริษัทผู้ผลิตหรือผู้ขายอาจจะส่งผู้เชี่ยวชานมาตรวจสอบและซ่อมให้โดยทันที และในกรณีที่ไม่สามารถซ่อมได้ทันทีทางผู้ผลิตหรือผู้ขายอาจให้ยืมเครื่องโปรเจคเตอร์มาใช้ก่อนและนำเครื่องที่เสียไปซ่อม ปัจจุบันมีผู้ขายบางรายที่ให้บริการหลังการขายในรูปแบบนี้อยู่ซึ่งจะช่วยลดปัญหาและความยุ่งยากในกรณีที่โปรเจคเตอร์เกิดการเสียหายขึ้นมาในอนาคต

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

โลกไร้พรมแดน

         ปัจจุบันสังคมไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมโลกาภิวัตน์ ซึ่งเราไม่อาจปฏิเสธความเจริญเติบโตที่มาพร้อมกับความขัดแย้งระหว่างระเบียบอำนาจแบบรัฐชาติกับสังคมโลกาภิวัตน์ จนเกิดคำถามว่ารัฐชาติของไทยจะรักษาระเบียบอำนาจของตนไว้ได้หรือไม่ มันสายไปแล้วหรือไม่ที่จะจำกัดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไว้ในกรอบคิดรัฐชาติ และอะไรจะเกิดขึ้นเมื่อรัฐชาติต้องแปรรูปไปเป็นรัฐแบบอื่น เราพร้อมจะพบกับความเปลี่ยนแปลงระดับนั้นหรือสามารถควบคุมทิศทางการเปลี่ยนแปลงได้แค่ไหน


        ความขัดแย้งระหว่างระเบียบอำนาจแบบรัฐชาติกับสังคมโลกาภิวัตน์ ไม่ได้หมายถึงการต่อสู้ระหว่างไทยกับประเทศมหาอำนาจ หรือไทยกับโลกทั้งโลก แต่หมายถึงลักษณะที่อาจเข้ากันไม่ได้ หรือไม่ได้สอดคล้องกันระหว่างระเบียบอำนาจที่เราใช้อยู่กับสังคมที่แปรเปลี่ยนไป และทำให้รัฐไทยเผชิญปัญหาสำคัญคือ การบูรณาการผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของกลุ่มทุนโลกาภิวัตน์กับผลประโยชน์ของส่วนอื่นในสังคม
        ซึ่งประเด็นไม่ได้อยู่ที่การต่อต้านการค้าการลงทุนแบบไร้พรมแดน แต่ต้องจัดวางฐานะของมันให้เหมาะสมและบูรณาการผลประโยชน์ของทุกกลุ่มเข้าด้วยกันแทนที่จะปิดกั้นด้วยจินตนาการเรื่องชาติ ซึ่งต้องบริหารความเป็นธรรมด้วย ซึ่งนายเสกสรร ประเสริฐกุล ถือว่าเป็นสิ่งที่รัฐจะต้องบูรณาการสังคมไทยเสียใหม่ ยอมรับการมีอยู่ของทุกๆฝ่ายที่เกี่ยวข้องแทนที่จะปิดบังมันไว้ด้วยจินตนาการเรื่องชาติ
      
         จากนั้นก็หาทางประสานผลประโยชน์ระหว่างทุนข้ามชาติ ทุนไทย แรงงานต่างชาติ ฯลฯ เช่น แรงงานต่างชาติที่เข้ามาเป็นแรงงานในประเทศไทยได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพลังการผลิต ลดต้นทุน และช่วยเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในทุนไทยและต่างชาติบางกลุ่ม ซึ่งถือว่าเป็นตัวแปรสำคัญที่คอยตรึงราคาค่าแรงของผู้ใช้แรงงานชาวไทยด้วย และปัญหาความไม่ลงตัวในเรื่องการจัดสรรอำนาจทางการเมืองและพื้นที่ทางการเมืองในสังคมแบบพหุลักษณะ (แยกเป็นกลุ่มย่อย)ซึ่งเกี่ยวโยงกับเศรษฐกิจแบบไร้พรมแดนและข่าวสารแบบไร้พรมแดน ทั้งในแง่ของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มวัฒนธรรม และยังทำให้เกิดกลุ่มชนชั้นใหม่ๆ ที่มั่งคั่งขึ้นมาอย่างรวดเร็วและมหาศาล เกิดกลุ่มทุนใหม่ที่ต้องการมีส่วนแบ่งในอำนาจการเมืองการปกครอง เช่นกัน ทั้งนี้ได้หมดเวลาแล้วที่จะบัญชาสังคมจากบนลงล่าง ซึ่งจะต้องเปิดพื้นที่ให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมอย่างสมศักดิ์ศรีและเท่าเทียมกัน  เพราะทั้งนี้รัฐไทยยังคงรวมศูนย์สู่ส่วนกลาง ทำให้การเมืองไทยมีลักษณะ Winner Takes All และส่งผลให้ความขัดแย้งของชนชั้นนำมักเดินไปสู่ความรุนแรงอยู่เป็นระยะๆ ซึ่งในระบบรัฐสภายังไม่เพียงพอต่อการดูแลและปกครองประเทศเพียง อย่างเดียว แต่จะต้องรากฐานของการปกครองตนเองระดับท้องถิ่นซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในระบอบประชาธิปไตย ดังนั้น ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องปรับความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างประชาสังคมกับรัฐ และศูนย์กลางกับท้องถิ่น เพื่อประชาสังคมมีส่วนร่วมมากขึ้น เพิ่มศักยภาพในการดูแลตนเอง แต่ทั้งนี้ในระยะเวลาที่ผ่านมาการปกครองที่มีอำนาจอยู่ที่ศูนย์กลางนั้นยังคงมีปัญหาต่างๆมากมาย เช่น ความอ่อนแอของประชาสังคมระดับล่าง การทุจริตคอรัปชั่น ระบบอุปถัมภ์และความขัดแย้งรุนแรงทางการเมือง เป็นต้น
    
       ดังนั้นเพื่อที่จะทำให้สังคมไทยอยู่กับสังคมที่เป็นแบบพหุได้และสามารถบริหารประเทศร่วมกับรัฐได้จะต้องดำเนินการตามแนวทางข้างต้นนั้น ทั้งเพื่อลดความขัดแย้งในส่วนกลาง โดยจะต้องมีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและคนในสังคมมีส่วนรวมในการตัดสินใจ เพื่อมีให้ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนในสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครองที่ไม่อาจปฏิเสธที่เปลี่ยนแปลงไปในยุคของโลกาภิวัฒน์

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

การแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยี

       กระบวนการทางเทคโนโลยี เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา โดยการคิดริเริ่มสร้างสรรค์

เพื่อนำไปสู่การประดิษฐ์และปฎิบัติ ก่อใก้เกิดประโยชน์ใช้สอย ตามที่มนุษย์ต้องการและเปลี่ยนแปลง
        การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ เพราะมนุษย์มีความต้องการในการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆในการดำรงชีวิต ซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาที่อาจเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นต่างๆที่มนุษย์สร้างขึ้น และบางครั้งปัญหาอาจเกิดการผลิตสิ่งของต่างๆไม่ตรงตามความต้องการไม่ได้คุณภาพจึงต้องมีการออกแบบ เพื่อจะนำมาแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นดังกล่าว
   กระบวนการเทคโนโลยี มีอยู่ด้วยกัน 7 ขั้นตอน ได้แก่

1.กำหนดปัญหาหรือความต้องการ
   เมื่อมนุษย์เกิดปัญหาหรือความต้องการ ขั้นแรกคือการทำความเข้าใจ ปัญหานั้นๆ อย่างละเอียดหรือกำหนดขอบเขต การแก้ปัญหา ระบุความต้องการให้ชัดเจนว่าต้องการอะไร  โดยเขียนเป็นข้อความสั้นๆให้ได้ใจความชัดเจน
 2. รวบรวมข้อมูบเพื่อแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ เมื่อกำหนดปัญหาหรือความต้องการแล้ว
    ขั้นตอนต่อไปนี้คือ เก็บรวบรวมข้อมูลและความรู้ทุกด้านที่เกี่ยวข้องก้บปัญหาหรือความต้องการพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมสำหรับแก้ปัญหา หรือสนองความต้องการที่กำหนดไว้ ทำได้หลายวิธี เช่น
  รวบรวมข้อมูลจากหนังสือ วารสารต่างๆ

- สำรวจตัวอย่างในท้องตลาด

- สัมภาษณ์พูดคุยกับคนอื่นๆ

- ระดมสมองคิดหาวิธีการ

- สืบค้นจากอินเทอร์เนต และจากแผ่นซีดีเสริมความรู้ ฯลฯ

ข้อมูลเหล่านนี้จะนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการในหลายแบบขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญซึ่งจะเป็นช่องทางที่สามารถใส่เนื้อหา ที่เราต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้ และถือว่าเป็นช่องทางของการบูรณาการได้ดีที่สุด
   3. เลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ
   ในขั้นนี้เป็นการตัดสินใจเลือกแนวคิดที่ดีที่สุดสำหรับแก้ปัญหา โดยนำข้อมูลและความรู้ที่รวบรวมได้มาประกอบกัน จนได้ข้อสรุปว่าจะเลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือวิธีการสนองความ ต้องการเป็นแบบใด โดยวิธีการที่เลือกอาจยึดแนวที่ว่า เมื่อเลือกแล้วจะทำให้สิ่งนั้นดีขึ้น สะดวกสบายหรือรวดเร็วชึ้น ประหยัดขึ้น รวมที้งวิธีการเหล่านี้จะต้องสอดคล้องกับทรัพยาการที่มีอยู่
  4. ออกแบบและปฎิบัติการ
   ขั้นตอนนี้ต้องการให้นักเรียนรู้จักคิดออกแบบซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งของเครื่องใช้เสมอไป อาจเป็นวิธีการก็ได้และการออกแบบไม่จำเป็นต้องเขียนแบบเสมอไปอาจเป็นแค่ลำดับความคิดหรือจินตนาการให้เป็นขั้นตอนซึ่งรวมปฎิบัติการลงไปด้วย นั่นคือ เมื่อออกแบบแล้วต้องลงมือทำ และลงมือปฎิบัติในสิ่งที่ออกแบบไว้
 5. ทดสอบ
  เป็นการนำสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการนั้นทดลองเพื่อใช้ทดสอบว่าใช้งานหรือทำงานได้หรือไม่ มีข้อบกพร่องอย่างไร ถ้ายังไม่ได้ก็ไปสู่ขั้นตอนต่อไป คือ ปรับปรุง แก้ไข
6.การปรับปรุงแก้ไข
  หลังจากการทดสอบผลแล้วพบว่าสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นกรือวิธีการที่คิดขึ้นไม่ทำงานมีข้อบกพร่อง ก็ทำการปรับปรุงแก้ไข โดยอาจเลือกวิธีการใหม่ก็ได้คืนย้อนไปขั้นตอนที่ 3
 7.ประเมินผล
   หลังจากการปรับปรุงจนใช้งานได้ดีตามวิธีการที่ออกแบบแล้วก็นำมาประเมินผลโดยรวมโดยพิจารณาดังนี้ -สิ่งประดิษฐ์สามารถแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการที่ระบุไว้ได้หรือไม่
  -สวยงามดึงดูดใจผู้ใช้หรือไม่
  -แข็งแรงทนทานต่อการใช้งานหรือไม่
  -ต้นทุนสูงเกินไปหรือไม่
บางกิจกรรมอาจไม่ครบทั้ง 7 ขั้นตอนก็ได้ บางกิจกรรมบางขั้นตอนอาจสลับกันไปบ้างก็ได้ แต่เมื่อนำไปใช้แล้ว สามารถที่จะทำงานเป็นขั้นตอนเป็นระบบสามารถย้อนกลับมาดูหรือแก้ไขได้ตามขั้นตอนที่ทำไปได้

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

ฮาร์แวร์ ซอฟแวร์ และสื่อมัลติมีเดีย

ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit: CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน ดังนี้


หน่วยป้อนข้อมูล (Input Unit) ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้อนข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้แก่ แป้นพิมพ์ สำหรับพิมพ์ตัวอักษรและอักขระต่าง ๆ เมาส์สำหรับคลิกสั่งงานโปรแกรม สแกนเนอร์สำหรับสแกนรูปภาพ จอยสติ๊ก สำหรับเล่นเกมส์ ไมโครโฟนสำหรับพูดอัดเสียง และกล้องดิจิตอลสำหรับถ่ายภาพ และนำเข้าไปเก็บไว้ ในดิสก์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปใช้งานต่อไป

หน่วยประมวลผลกลาง ( CPU : Central Processing Unit ) หรือมักจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าไมโครโปรเซสเซอร์ มีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูล ในลักษณะของการคำนวณและเปรียบเทียบ โดยจะทำงานตามจังหวะเวลาที่แน่นอน เรียกว่าสัญญาณ Clock เมื่อมีการเคาะจังหวะหนึ่งครั้ง ก็จะเกิดกิจกรรม 1 ครั้ง เราเรียกหน่วย ที่ใช้ในการวัดความเร็วของซีพียูว่า “เฮิร์ท”(Herzt) หมายถึงการทำงานได้กี่ครั้งในจำนวน 1 วินาที เช่น ซีพียู Pentium4 มีความเร็ว 2.5 GHz หมายถึงทำงานเร็ว 2,500 ล้านครั้ง ในหนึ่งวินาที กรณีที่สัญญาณ Clock เร็วก็จะทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องนั้น มีความเร็วสูงตามไปด้วย ซีพียูที่ทำงานเร็วมาก ราคาก็จะแพงขึ้นมากตามไปด้วย การเลือกซื้อจะต้องเลือกซื้อให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการนำไปใช้ เช่นต้องการนำไปใช้งานกราฟฟิกส์ ที่มีการประมวลผลมาก จำเป็นที่จะต้องใช้เครื่องที่มีการประมวลผลได้เร็ว ส่วนการพิมพ์รายงานทั่วไปใช้เครื่องที่ความเร็ว 100 MHz ก็เพียงพอแล้ว

หน่วยแสดงผล (Output Unit) มีหน้าที่ในการแสดงผลข้อมูล ที่ผ่านการประมวลผลในรูปของ ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวหรือ เสียง เป็นต้น อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการแสดงผลได้แก่ จอภาพ(Monitor) สำหรับแสดงตัวอักษรและรูปภาพ เครื่องพิมพ์ (Printer) สำหรับพิมพ์ข้อมูลที่อยู่ในเครื่อง ออกทางกระดาษพิมพ์ ลำโพง (Speaker) แสดงเสียงเพลงและคำพูด เป็นต้น

หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป เนื่องจากหน่วยความจำแรม จำข้อมูลได้เฉพาะช่วงที่มีการเปิดไฟ เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้น ถ้าต้องการเก็บข้อมูลไว้ใช้ในโอกาสต่อไป จะต้องบันทึกข้อมูลลงในหน่วยความจำสำรอง ซึ่งหน่วยความจำสำรองมีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่มีนิยมใช้กันทั่วไปคือ ฮาร์ดดิสก์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม ดีวีดีรอม ทัมท์ไดร์ฟ เป็นต้น


ซอฟต์แวร์ การใช้งานระบบสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงาน เช่น การซื้อของโดยใช้บัตรเครดิต ผู้ขายจะตรวจสอบบัตรเครดิตโดยใช้เครื่องอ่านบัตร แล้วส่งข้อมูลของบัตรเครดิตไปยังศูนย์ข้อมูลของบริษัทผู้ออกบัตร การตรวจสอบจะกระทำกับฐานข้อมูลกลาง โดยมีกลไกหรือเงื่อนไขของการตรวจสอบ จากนั้นจึงให้คำตอบว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธบัตรเครดิตใบนั้นการดำเนินการเหล่านี้เป็นไปโดยอัตโนมัติตามคำสั่งของซอฟต์แวร์


ทำนองเดียวกันเมื่อซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า พนักงานเก็บเงินจะใช้เครื่องกราดตรวจอ่านรหัสแท่งบนสินค้าทำให้บนจอภาพปรากฎชื่อสินค้า รหัสสินค้า และราคาสินค้า ในการดำเนินการนี้ต้องใช้ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบทำงานได้

ซอฟต์แวร์ คือ ชุดคำสั่งที่สั่งงานคอมพิวเตอร์เป็นลำดับตามขั้นตอนของการทำงานชุดคำสั่งเหล่านี้ได้จัดเตรียมและทำขึ้นก่อนแล้วนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์อ่านชุดคำสั่งแล้วทำงานตาม ซอฟต์แวร์จึงหมายถึง การสั่งการให้คอมพิวเตอร์กระทำตามขั้นตอนและแผนงานต่าง ๆ ตามเงื่อนไขและข้อตกลงที่ได้ดำเนินการหรือจัดเตรียมไว้แล้ว ซอฟต์แวร์จึงเป็นผลที่มนุษย์จัดทำขึ้น และคอมพิวเตอร์จะทำงานตามกรอบของซอฟต์แวร์ที่วางไว้แล้วเท่านั้น

การใช้งานไมโครคอมพิวเตอร์จะเริ่มขึ้นเมื่อไมโครคอมพิวเตอร์พร้อมรับคำสั่ง โดยขึ้นตัวพร้อม (prompt)

เมื่อผู้ใช้ป้อนคำสั่ง DIR ซึ่งเป็นคำสั่งให้คอมพิวเตอร์แสดงข้อมูลเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในแผ่นบันทึกที่ติดต่ออยู่ขณะนั้นผลลัพธ์ที่ได้อาจแสดงนั่นหมายความว่า ผู้ใช้ได้สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง DIR ซึ่งถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำก่อนแล้ว เมื่อเรียกคำสั่ง คอมพิวเตอร์จึงไปทำงานตามชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์นั่นเองชนิดของซอฟต์แวร์แบ่งเป็นสองประเภทใหญ่ คือ ซอฟต์แวร์ระบบ (system software) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software)



1 ซอฟต์แวร์ระบบ

ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์ จัดการทางด้านอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระ การแสดงผลบนจอภาพ การนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การดูแล การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูล การสื่อสารข้อมูล ซอฟต์แวร์ระบบจึงหมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ดูแลจัดการอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในระบบ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ (operating system) เช่น เอ็มเอสดอส ยูนิกซ์ โอเอสทู วินโดวส์ เป็นต้น



2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือ ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเพื่อประยุกต์กับงานที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์จัดเก็บภาษี ซอฟต์แวร์สินค้าคงคลัง ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์กราฟิก ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นต้น

การทำงานใด ๆ โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์จำเป็นต้องทำงานภายใต้สิ่งแวดล้อมของซอฟต์แวร์ระบบด้วย ตัวอย่างเช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำต้องทำงานภายใต้ซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอสหรือวินโดวส์ เป็นต้น
        ซอฟต์แวร์ประยุกต์ยังแบ่งแยกออกเป็นซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นใช้งานเฉพาะและซอฟต์แวร์สำเร็จ

1) ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นใช้งานเฉพาะ คือ ซอฟต์แวร์ที่เขียนตามความต้องการของผู้ใช้หรือเฉพาะงานใดงานหนึ่ง ผู้เขียนต้องเข้าใจงานและรายละเอียดของการประยุกต์นั้นเป็นอย่างดี เช่น ซอฟต์แวร์สำหรับงานจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร ซอฟต์แวร์งานธนาคาร

2) ซอฟต์แวร์สำเร็จ เป็นซอฟต์แวร์ที่มีบริษัทผู้ผลิตได้สร้างขึ้น และวางขายทั่วไปผู้ใช้สามารถหาซื้อมาประยุกต์ใช้งานทั่วไปได้ เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล



มัลติมีเดีย การใช้สื่อมากกว่า 1 สื่อร่วมกันนำเสนอข้อมูลข่าวสาร โดยมีจุดมุ่งหมายให้ ผู้รับสื่อสามารถรับรู้ข่าวสารได้มากกว่า 1 ช่องทาง โดยผ่านการควบคุมการใช้ และโต้ตอบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือเครือข่าย ปัจจุบันมีการพัฒนารูปแบบของมัลติมีเดียให้สอดคล้องกับปรัชญาการ เรียนรู้มากขึ้น สื่อประเภทนี้ไม่ได้เป็นเพียงรูปแบบของบทเรียนแบบโปรแกรม ที่ให้เพียงเนื้อหา คำถาม และคำตอบ แต่ได้รับการออกแบบให้เปิดกว้างสำหรับ การสำรวจกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิดค้น สืบค้นมากขึ้น




สื่อมัลติมีเดีย สื่อประสมหรือสื่อหลายแบบที่มีการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการนำเสนอข้อมูล เป็นหลัก โดยได้มีการออกแบบนำเสนอไว้อย่างเป็นระบบ มัลติมีเดียนั้นได้รวมเอาฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ไว้ด้วยกัน จะเน้นส่วนไหน มากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน และจะเน้นผลผลิตที่เกิดจากการ นำเสนอข้อมูลหลากลายรูปแบบ เช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และข้อความ

เทคโนโลยีมัลติมีเดีย เทคโนโลยีได้เข้ามามีบาทเป็นอย่างสูงสำหรับในยุคนี้ ซึ่งสามารถพิจารณา จากการพัฒนาคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นด้านสมรรถนะของซีพียู รวมทั้งประสิทธิ์ภาพของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ในปัจจุบันนี้ ต่างก็พัฒนาขึ้น มาเพื่อรองรับความต้องการของเทคโนโลยีมัลติมีเดียมากขึ้น ตัวอย่างเช่น

1.ความสามารถของโปรเซสเซอร์ที่สามารถปะมวลผลข้อมูลอย่างรวดเร็ว เพื่อรองรับการคำนวณด้าน คอมพิวเตอร์กราฟิกที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

2.หน่วยความจำในเครื่องที่มีความเร็วสูงขึ้น และเพิ่มขยายได้มากขึ้น

3.การ์ดแสดงผลที่ช่วยให้แสดงภาพได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการแสดงผลสูง

4.จอภาพขนาดใหญ่

5.การ์ดเสียงและลำโพงที่สมบูรณ์แบบเทียบได้กับเครื่องเสียงราคาแพง ๆ

6.อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีความจุมากขึ้น เช่น ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น

การผลิตสื่อมัลติมีเดียมีขั้นตอนดังนี้

1.ตั้งเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์

2.ศึกษาสภาพกลุ่มบุคคลเป้าหมาย

3.กำหนดระยะเวลาและงบประมาณที่จะใช้

4.กำหนดตัวบุคคลแต่ละหน้าที่

5.กำหนดเรื่อง เนื้อหา และวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมในแต่ละเรื่อง

6.จัดลำดับขั้นตอนการใช้สื่อ

7.ประเมินผลการปฏิบัติงานที่ผ่านมา